เส้นชั้นความสูง  (Contouring) 

 

                แผนที่  ที่แสดงทั้งค่าระดับความสูงของพื้นดินและรายละเอียดต่าง ๆ  ทั้งที่เป็นธรรมชาติ  และมนุษย์สร้างขึ้น  เราเรียกแผนที่ชนิดนี้ว่า  Topographic  map  เวลาไปทำการสำรวจจะต้องวาง  Bm  ซึ่งเราเรียกว่า  Vertieal  control  หรือจุดบังคับทางดิ่ง  และทำวงรอบหรือสามเหลี่ยมเรียกว่า  Horizontal  Control  ในแผนที่  ค่าความสูงจะมีหลายอย่างที่นิยมที่สุดคือ  เส้นชั้นความสูง  Contouring

     

                Contour  Line  หรือ  เส้นชั้นความสูง  คือ  เส้นจิตนาการของระดับที่คงที่บนพื้นดิน  ซึ่งได้จากการลากเส้นคงที่ผ่านจุดต่าง ๆ  บนพื้นดินที่มีค่าระดับเท่ากัน  เส้นที่ลากโยงเหล่านี้เราเรียกว่า  เส้นชั้นความสูง

                Contour  Interval  คือ  ค่าความต่างของเส้น  Contour  แต่ละเส้นซึ่งถูกกำหนดในแนวดิ่ง  เช่น  เส้น  Contour  เส้นที่  100  กับ  101  ความต่างคือ  1  นั้นคือ  1  เมตร  คือ  Contour  interval
                       

การกำหนด  Contour  interval  กำหนดได้ดังนี้

1.       ลักษณะดินเดิมตามธรรมชาติ  (Nature  of  grand)  เช่น  ดินที่มีความลาดชันมาก  Contour  interval  จะมีค่ามาก  แต่ถ้าเป็นพื้นราบ  Contour  interval  จะต้องมีค่าน้อย  ทั้งนี้จะทำให้  Contour  Line  ไม่ผิดกัน

2.       มาตราส่วนแผนที่  Scale  of  the  map  ถ้าแผนที่มาตราส่วนเล็ก  Contour  interval  จะมีค่ามากจะเห็นว่า  Contour  interval   แปรผกผันกับ  Scale

3.       ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และเนื้อที่ทำการสำรวจ

4.       ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการสำรวจ

ลักษณะของเส้นชั้นความสูง

                1.  Contour  Line    ที่มีค่าความสูงต่างกันจะต้องกันไม่ได้ หรือระดับเท่ากันจะพาดผ่านกันไม่ได้

                2.  Contour  Line    ที่มีค่าระดับต่างกันจะรวมกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นหน้าผาสูงชัน

                3.  ถ้า  Contour  Line  ชิดหรือห่างกันจะแสดงให้เห็นลักษณะภูมิประเทศดังนี้

                                3.1  ลาดชั้น  Steep  Slope  ชิดติดกันมากเป็นหน้าผา

                                3.2  Gentle  Slope  ลาดไม่สม่ำเสมอ  คือสูง ๆ ต่ำ ๆ

                                3.3  Unform  Slope  ลักษณะพื้นดินราบเรียบมาก  Contour  เดียวขนานกัน

                                3.4  Plane  Slope  พื้นดินราบเรียบเป็นแผนเดียวกัน  Contour  จะเป็นเส้นทางและขนานกัน

                4.  เส้น  Contour  จะตั้งได้ฉากกับแนวที่ลาดชันมากที่สุด

                5.  เส้น  Contour  จะบรรจบกันเองเสมอไม่ว่าจะเป็นภูเขา  หรือที่ลุ่ม  (Depression  Contour)

                6.  ค่าเส้นชั้นความสูงผ่านเส้นบันน้ำ  Contour  จะออกเป็น  U-shape

                7.  ถ้า  Contour  ผ่าน  Valley  line  จะออกเป็นรูป  V-shape

                8.  เส้น  Contour  เส้นเดียวกันจะปรากฏบนด้านตรงกันข้ามของ  Valley line

                9.  ถ้าพื้นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง  Contour  line  จะปิดเป็นวงรอบ

                

ข้อแนะนำเวลาเขียน  Contour

1.       การเขียน  Contour  ต้องเขียนแบบ  Free  Hant

2.       เส้น  Contour  ที่เขียนนั้นจะตัดกันไม่ได้

3.       Contour  ทุกเส้นจะหายไปเฉยๆ  บนแผนที่ไม่ได้  จะต้องเขียนให้ไปจดกับขอบของแผนที่หรือเริ่มออกจาก  Spot  elev  ที่อยู่ริม ๆ พื้นที่

4.       การเริ่มเขียนออกจากขอบเขตของแผนที่หรือเริ่มออกจาก  Spot  elev  ที่อยู่ริม ๆ พื้นที่ที่จะเขียน  Contour

5.       ก่อนทำการเขียนจะต้องหาทิศทางของ  Contour  pint  เสียก่อนในทิศทางที่เราจะเขียน  Contour  line  ไป

6.       การเขียน  Contour  ต้องเขียนกันไปเป็นกลุ่ม ๆ  ไม่ใช่นึกอยากจะเขียนเส้นไหนก็เขียนไปจนสุดแผนที่หรือบรรจบเส้นทำให้ลืม  Contour  บางเส้น

  

วิธีการเขียนเส้นชั้นความสูง

                หมายถึงการเขียน  contour  ซึ่งเริ่มจากการ  plot  ground  point

                 Irtimation  วิธีนี้ใช้การประมาณว่า  Contour  line  จะผ่านตรงไหนของจุด  Spot  elev  หรือจุด  Ground  point  สองจุดซึ่งถ้าค่าระดับของ  Spot  elev  ต่างกันก็จะถือค่าความลาดระหว่างจุดทั้งสองนั้นสม่ำเสมอกัน  หรือเรียกว่า  Uniform  หรือ  Plane  slope  ทำให้ทราบว่าความลาดนี้จะมี  Contour  point  อยู่หรือไม่  ถ้ามีก็จุดไว้แล้วลาก  Contour  line  ทีหลังก็ได้เป็นชั้นความสูงตามต้องการ  นิยมใช้มาก