ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี่เลนส์แวนตา


 ผมยังจำได้ว่าสมัยเด็กๆคนที่ใส่แวนมักจะเป็นคนที่มีสายตาสั้น เหลือสายตายาว เลนส์สมัยก่อนใช้แก้แค่ปัญหาสายตา ไม่สามารถกรองแสง uv หรือ ปรับเปลี่ยนสี เลนส์ได้อัตโนมัติ.. แด่ด้วยเทคโนโลยี่ต่างๆที่พัฒนาขึ้น คุณสมบัติต่างๆของเลนส์ จึงเปลี่ยนไป เรามาเริ่มหลักพื้นๆเกี่ยวกับแวนตากันเลยดีกว่า..ครับ

แว่นตาประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นโลหะหรือพลาสติกและส่วนที่เป็นเลนส์ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขภาวะที่มีสายตาผิดปกติ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 กรณี ดังนี้

สายตาสั้น หมายถึง ภาวะที่ตาไม่สามารถมองไกลได้ชัดเจน แต่สามารถมองสิ่งของใกล้ ๆ ได้ชัดเจน เราจึงเรียกว่า สั้น หรือ ใกล้ ไม่ใช่ ไกล หรือ ยาว

สายตายาว หมายถึง ภาวะที่ตามองไกล ๆ ได้ชัดเจนหรืออาจจะมองไกลไม่ค่อยชัดก็ได้ และมักจะมีปัญหาเวลามองใกล้ ๆ ไม่ค่อยชัดด้วย เราจึงเรียกว่า ยาว ถ้าพบในเด็กเล็กอาจเกิดภาวะตาเหล่ ตาเข ร่วมด้วย

สายตาเอียง หมายถึง ภาวะที่ตามองไม่ชัดเจน เนื่องมาจากความโค้งของกระจกตา ไม่เป็นรูปทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอล แต่จะรี ๆ เหมือนลูกรักบี้ และคำว่าตาเอียงไม่ใช่ภาวะตาเหล่หรือตาเข กล่าวโดยรวมก็คือ สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงล้วนทำให้ตามองเห็นไม่ชัดเจน ยังมีสายตาอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า

สายตาคนแก่ หรือสายตาสูงอายุ หมายถึง สายตาซึ่งเกิดกับผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น โดยทั่วไปมักจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป อาการที่ว่าคือจะเริ่มมองหรืออ่านหนังสือระยะใกล้ ๆ หรือระยะปกติที่เคยอ่านได้ ไม่ค่อยชัดเจนแล้ว บางคนจะรู้สึกตาพร่า บางคนอาจมีอาการปวดตา แต่เวลามองไกลจะรู้สึกเห็นได้ปกติ (ยกเว้นว่ามีสายตายาว สั้น หรือ เอียง ร่วมด้วย) แต่คนทั่วไปมักเรียกภาวะนี้ว่า สายตายาว คือมองใกล้ ๆ ไม่ชัดแล้วต้องถือหนังสือห่าง ๆ มากขึ้น และแว่นที่ใช้ก็ใช้เลนส์ชนิดเดียวกับคนสายตายาว เช่นกัน

ทั้ง 4 กรณีที่กล่าวมาแล้ว มีความจำเป็นต้องใช้แว่นตาเพื่อแก้ไขภาวะสายตาที่มีอยู่ ทำให้กลับมองเห็นได้เหมือนคนปกติทั่วไป ยังมีอีก 2 กรณีที่อาจใช้หรือไม่ใช้แว่นตาก็ได้นั่น คือ ภาวะที่มีสายตาเพียงเล็กน้อย กรณีนี้การใส่แว่นหรือไม่ใส่จะมองเห็นได้ไม่แตกต่างกันมากนัก และการใส่แว่นเพื่อความสวยงามแฟชั่น หรือ เพิ่มบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น 2 กรณีหลังนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้แว่นตาก็ได้

การที่แว่นตาสามารถแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติได้ เพราะอาศัยคุณลักษณะของเลนส์ในการหักเหแสงนั่นเอง คือ ใช้เลนส์นูนเพื่อแก้สายตายาว และสายตาสูงอายุ ใช้เลนส์เว้าเพื่อแก้สายตาสั้น และใช้เลนส์เอียงเพื่อแก้ภาวะสายตาเอียง

ส่วนประกอบของแว่นตา แว่นตาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กรอบแว่น และเลนส์แว่นตา

             

* กรอบแว่นตา อาจทำจากวัสดุที่เป็นโลหะหรือพลาสติก หรือทั้ง 2 อย่าง รวมกัน ทำขึ้นเป็นหน้าแว่นตามีช่อง 2 ช่อง สำหรับใส่เลนส์ และขาแว่นตาสำหรับสวมเกี่ยวกับใบหู พลาสติกที่นำมาใช้ทำกรอบแว่นตา มี 2 ชนิด คือ พลาสติกชนิดนิ่มซึ่งยืดหยุ่นได้มาก และพสาสติกแข็งซึ่งยืดหยุ่นได้ค่อยได้ ดังนั้น พลาสติกชนิดนิ่มจึงมีโอกาสแตกหักน้อยกว่าชนิดแข็ง ส่วนโลหะที่นำมาประกอบเป็นกรอบนั้น มีหลายชนิดทั้งสเตนเลส เหล็ก นิกเกิ้ล ไททาเนียม ในกรณีที่ไม่ใช่ไททาเนียม น้ำหนักกรอบจะหนักกว่าและโอกาสเกิดสนิมหรือเกิดการแพ้จะมีได้มากกว่าโดยเฉพาะนิกเกิ้ล กรอบแว่นบางชนิดทำจากโลหะที่ปราศจากโลหะที่ปราศจากนิกเกิ้ล (nickle free) ก็อาจช่วยลดการแพ้ลงได้ การเคลือบทองหรือการชุบทองของกรอบแว่นก็มีความสำคัญ ถ้าชุบทองได้ดีก็จะเกิดการลอกน้อยกว่า

* เลนส์สายตา ทำจากวัสดุที่เป็นพลาสติกหรือกระจก เป็นเลนส์เว้า เลนส์นูน หรือเลนส์เอียง เลนส์พลาสติกมีข้อดีกว่ากระจกตรงที่เบากว่าไม่แตกง่าย แต่มีข้อเสียตรงที่อาจมีลอยขีดข่วนที่พื้นผิวหน้าได้ง่ายกว่า โดยทั่วไปเลนส์กระจกจักษุแพทย์มักจะไม่ค่อยแนะนำ เนื่องจากอันตรายจากกระจกเลนส์ที่แตกเนื่องจากอุบัติเหตุ อาจทำให้สูญเสียตาอย่างถาวรได้ นอกจากเลนส์ธรรมดาแล้ว ยังมีเลนส์พิเศษต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณลักษณะให้กับเลนส์อีก เช่น

- การเคลือบแข็งเพื่อลดรอยขีดข่วน

- การเคลือบ multicoat เพื่อลดการสะท้อนกลับของแสงที่จะเข้าสู่ตาทำให้การมองเห็นภาพชัดเจนยิ่งกว่า

- เลนส์ย่อส่วน คือ เลนส์ที่มีค่าดัชนีหักเหแสงมากกว่าปกติ ดังนั้น เลนส์ชนิดนี้จะบางกว่าเลนส์ทั่วๆ ไป และมักจะแนะนำให้ใช้ในกรณีที่สายตามาก ๆ เพื่อลดน้ำหนักของเลนส์ให้น้อยลง

- เลนส์สองชั้น คือเลนส์ที่ทำให้สามารถมองทั้งไกลและใกล้ได้ชัดเจน แต่จะเห็นรอยต่อระหว่างเลนส์ แต่บางคนอาจไม่ชอบรอยต่อระหว่างเลนส์ ก็อาจเลือกเลนส์ที่ลบรอยต่อระหว่างเลนส์ได้

- เลนส์หลายชั้นหรือหลายโฟกัส (progressive lens) เป็นเลนส์ที่ทำให้มองได้ทั้งไกลและใกล้ชัดทุกระยะและไม่มีรอยต่อระหว่างเลนส์

- เลนส์เปลี่ยนสี คือ เลนส์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเมื่อถูกแสงแดด หรืออยู่กลางแจ้งเลนส์จะเปลี่ยนสีให้เข้มขึ้นเองเพื่อกันแสงแดด แต่เวลาเข้าที่ร่มสีเลนส์ก็จะจางลงจนใสเหมือนเดิม

การเลือกแว่นตา

* ขนาดของแว่นตา กรอบแว่นตาจะมีขนาดต่าง ๆ กันหลายขนาด ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าแว่นตาแต่ละช่อง มีตั้งแต่ความกว้าง 40 มม. ไปจนถึง 60 กว่ามม. ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะใช้ขนาด 40 กว่ามม. แต่ถ้าเป็นเด็กโตหรือหนุ่มสาวก็ประมาณ 50 กว่ามม. แต่บางรายที่มีรูปหน้าค่อนข้างใหญ่ อาจต้องใช้ขนาด 60 หรือ 60 กว่ามม. เพื่อลดการกดบีบศีรษะบริเวณขมับจากขาแว่น เพราะทำให้ปวดศีรษะได้ และเห็นเป็นรอยขาแว่นบริเวณใบหน้า

หรืออาจเลือกกรอบแว่นตาที่มีขาแว่นตาเป็นสปริงเนื่องจากขาแว่นจะกางได้มากกว่าธรรมดาลดการกดบีบบริเวณขมับศีรษะ การเลือกขนาดที่ไม่เหมาะสมกับใบหน้า เช่นเล็กเกินไปหรือใหญ่เกินไป แทนที่จะช่วยเพิ่มบุคลิกภาพที่ดี กลับทำให้ดูไม่สวยงามได้เช่นกัน

     

* รูปทรงของแว่นตา มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ กลม รี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม และก็จะมีลูกเล่นในแต่ละแบบต่าง ๆ กันออกไปอีก แต่ในปัจจุบันหน้าแว่นส่วนใหญ่จะเป็นทรงรีรูปไข่ จะแตกต่างกันที่ลูกเล่น ลวดลาย บริเวณขาแว่นตา การเลือกรูปทรงแว่นควรให้เหมาะสมเข้ากันได้กับใบหน้าทำให้เพิ่มบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

เลนส์สายตา ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเลนส์มีหลากหลายชนิด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ถ้ามีภาวะสายตามากๆ อาจเลือกเป็นเลนส์ย่อส่วนเพื่อจะได้ลดน้ำหนักของแว่นตา ถ้าเป็นสายตาสูงอายุอาจเลือกเป็นเลนส์ชั้นเดียวสำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว (มองไกลไม่ได้) หรือเลือกเป้นเลนส์สองชั้นหรือเลนส์ progressive สำหรับใส่ติดตาตลอดเวลาไม่ต้องถอดแว่นตาเข้า ๆ ออก ๆ เวลาก้มหรือเงยก็จะเห็นชัดตลอด ในกรณีที่ต้องการใช้แว่นกันแดดและมีสายตาอยู่ด้วย ก็อาจย้อมหรือเคลือบกันแดดบนเลนส์ หรือเลือกเป็นเลนส์เปลี่ยนสีก็ได้เช่นกัน

ราคาแว่นตา เป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับผู้บริโภคที่จะต้องตัดสินใจว่าราคาแพงเกินไปหรือไม่ เพราะแว่นที่ลดราคา 50%-60% นั้นอาจราคาแพงกว่าแว่นที่ลดราคา 10%-20% ก็ได้ และคุณภาพของแว่นก็อาจด้อยกว่า ยิ่งถ้ามีแลกแจกแถมด้วยก็ต้องพิจารณามากหน่อยว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ หมอแนะนำให้เลือกแว่นที่พอมีชื่อคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้าง เพราะแม้ว่าราคาจะแพงกว่าบ้างแต่คุณภาพแว่นตาจะดีกว่าแน่นอน พูดง่าย ๆ คือ ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุดและไม่ถูกเอาเปรียบมากเกินไป

การวัดสายตา แบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

- OBJECTIVE METHOD

- SUBJECTIVE METHOD

OBJECTIVE METHOD คือ การวัดสายตาโดยจักษุแพทย์เท่านั้น (เนื่องจากต้องทำการหยอดตาให้กล้ามเนื้อตาทำงานลดลงเพื่อทดสอบสายตาที่เป็นจริง) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กไม่สามารถโต้ตอบหรือทดสอบสายตาได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัว หรือตอบสนองไม่ค่อยได้ ส่วน SUBJECTIVE METHOD เป็นการวัดสายตาโดยให้ผู้ป่วยตอบสนองหรือโต้ตอบด้วยตนเองว่าเห็นชัดดีหรือไม่ หมอแนะนำว่าควรวัดกับจักษุแพทย์หรือผู้ที่มีความชำนาญจริง ๆ ไม่เช่นนั้นอาจได้ค่าสายตาที่ผิดพลาดไม่ถูกต้อง ทำให้เสียเงินเสียเวลา และอาจปวดตาหรือมองไม่ชัดด้วย ผู้ป่วยสูงอายุบางรายมีต้อกระจกร่วมด้วย การแก้ไขด้วยแว่นตาอาจไม่เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็อาจได้แว่นตามาใส่ เนื่องจากบางทีผู้ขายต้องการจะขายแต่สินค้าโดยมิได้คำนึงถึงผู้บริโภคว่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งเป็นปัญหาที่จักษุแพทย์พบบ่อยมากและต้องแก้ไขให้ อีกสิ่งหนึ่งที่มักพบบ่อยครั้ง คือวัดสายตาจากที่หนึ่งและไปประกอบแว่นจากอีกสถานที่หนึ่ง มักจะมีการแก้ค่าสายตากันใหม่ เนื่องจากผู้ประกอบไม่ต้องการประกอบตามค่าสายตาที่ได้รับมากลัวจะผิดพลาดและต้องแก้ไขให้ลูกค้าอีกครั้ง ทำให้ผู้บริโภคสับสนว่าแท้จริงสายตาเป็นเท่าไร ดังนั้น แนะนำว่าวัดสายตาที่ใดก็ประกอบแว่นตาที่นั่น เพื่อจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเหมาะสม

จะเห็นได้ว่าการจะมีแว่นตาสักอัน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วมากมาย เพื่อให้ได้แว่นตาที่ถูกใจและคุ้มค่า หากท่านมีปัญหาเรื่องสายตาและยังไม่ได้รับการตรวจเช็คและแก้ไข เชิญปรึกษาจักษุแพทย์ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ได้ทุกเวลา และทางโรงพยาบาลได้จัดให้มีร้านแว่นตาไว้บริการท่านแล้ว ปีใหม่นี้เลือกสรรของขวัญให้กับตัวคุณเอง ด้วยแว่นตาที่มีคุณภาพ ราคาพร้อมเลนส์ตั้งแต่ ราคา 1,590 บาทขึ้นไป ด้วยความปรารถนาดี สวัสดีปีใหม่ครับ

คำแนะนำก่อนเลือกซื้อแว่นกันแดด

     แสงสว่างช่วยให้นัยน์ตาของมนุษย์ สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ แต่ก็สามารถทำอันตราย ต่อนัยน์ตามนุษย์ ได้เช่นเดียวกัน รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) ในแสงสว่าง มีส่วนสำคัญในการทำลายกระจกตา (cornea) และเรตินา (retina) เช่นเดียวกับแสงที่มีความสว่างมากเกินไป อาจทำให้ผู้มองเกิดอาการตาบอดชั่วคราวหรือถาวร การสวมแว่นกันแดดเป็นวิธีหนึ่ง ในการป้องกันนัยน์ตาเราจากอันตรายดังกล่าวนี้ได้ ปัจจุบันแว่นกันแดด มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป สนนราคาแตกต่างกัน ตั้งแต่อันละไม่กี่สิบบาทที่วางขายตามแผงแบกะดิน เรื่อยไปจนถึง แว่นอันละหลายพันบาท ที่ขายในห้างสรรพสินค้าหรือร้านขายแว่น เชื่อว่าหลายท่าน คงสงสัยว่าอะไร ทำให้ราคาแตกต่างกัน และแว่นกันแดดราคาแพงมีคุณภาพดีกว่าแว่นราคาถูกๆ อย่างที่โฆษณากันจริงหรือไม่

    แว่นกันแดดที่ดีควรมีลักษณะเป็นอย่างไร? แว่นกันแดดมีหน้าที่ป้องกันนัยน์ตา จากสิ่งต่อไปนี้ รังสีอุลตร้าไวโอเลต แสงที่มีความเข้มสูง แสงจ้า (glare) ที่เกิดจากการสะท้อน ของแสงบนผิววัสดุ ที่มีความมันวาว และอาจทำให้เกิดอาการตาพร่าชั่วขณะ รวมถึงเพิ่มความตัดกัน (contrast) ของการมองเห็นในบางภูมิประเทศด้วย แว่นที่ดีควรมีสมบัติดังกล่าวนี้ ครบถ้วนหรือมากที่สุด แว่นกันแดดที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากจะไม่ช่วยป้องกัน นัยน์ตาของคุณแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น เช่น แว่นกันแดดบางชนิด อาจป้องกันได้เฉพาะแสงสว่าง แต่ไม่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต เมื่อสวมแว่นชนิดนี้ ม่านตาจะสามารถเปิดรับแสงมากขึ้น ซึ่งทำให้รังสีอุลตร้าไวโอเลต เข้าสู่นัยน์ตามากขึ้นตามไปด้วย โดยทั่วไป หลักใหญ่ๆ ในการเลือกซื้อแว่นกันแดด ได้แก่

    วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ ปัจจุบันมีทั้งเลนส์แก้วและเลนส์พลาสติก เช่น เรซินแข็ง โพลิคาร์บอเนต เลนส์พลาสติก มีน้ำหนักเบา และทนต่อการกระแทก ได้ดีกว่าเลนส์แก้ว แต่มีความแข็งต่ำ เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย จึงต้องมีการเคลือบผิว เพื่อป้องกันการขีดข่วน ซึ่งทำให้ราคาสูงขึ้น

    คุณภาพเชิงทัศนศาสตร์ เลนส์ที่ดีต้องไม่ทำให้เกิดความบิดเบี้ยว หรือกระจายสีรุ้ง วิธีการตรวจสอบ ความบิดเบี้ยวทำได้ง่ายๆ โดยการจ้องมองเลนส์ข้างหนึ่ง ไปยังภาพวัตถุที่เป็นเส้น (เช่น แนวเส้นกระเบื้องปูพื้น) จากนั้นขยับแว่นช้าๆ เลนส์ที่ดีต้องไม่ทำให้เส้นตรงดังกล่าว เกิดการคดงอในขณะที่ขยับแว่น

    การตัดแสง ปัจจุบันสามารถผลิตเลนส์ที่สามารถลดความเข้มแสงได้สูงถึง 97% ซึ่งเหมาะกับการใช้งาน ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่มีความสว่างมาก เช่น นักปีนเขาหรือผู้เล่นสกีหิมะ สำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น การเดินเล่นตามชายหาด หรือขับรถ เลนส์ที่ตัดแสงได้ 70-90% ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

    สีของเลนส์ เลนส์แว่นกันแดดมีให้เลือกหลายสี ซึ่งแต่ละสีก็เหมาะกับ การใช้งานในสภาพต่างกันไป เช่น เลนส์สีชา (amber) และสีเทาดำ เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไป เลนส์สีเหลืองหรือทอง เหมาะกับการใช้ ในภูมิประเทศที่มีหิมะ ขณะที่เลนส์สีม่วงหรือสีกุหลาบ เหมาะกับใช้ในการเดินป่าล่าสัตว์ หรือเล่นกีฬาทางน้ำ เป็นต้น

    หวังว่าข้อมูลดังกล่าวนี้ คงช่วยให้คุณสามารถเลือกซื้อ แว่นกันแดดที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณได้

        

 » คุณสมบัติสารพิเศษที่เคลือบบนผิวเลนส์

UVX LENS

UV คือคลื่นแสงอุลตร้าไวโอเลตที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์และจากแสงเทียมต่างๆ UV ประกอบด้วย UVA , UVB และ UVC ที่มีกำลังคลื่นแสงต่างกัน แต่ก่อน UVC จะถูกกรองด้วยชั้นบรรยากาศภายนอกโลก แต่เพราะความเจริญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศของโลกถูกทำลาย ทำให้รังสี UV ส่องตรงสู่โลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ UVA , UVB ที่มีอันตรายต่อดวงตาอย่างมาก เพราะดวงตาของเราไม่มีระบบป้องกันตัวเองเหมือนผิวหนัง ทั้งเยื่อบุตาขาว กระจกตาและเลนส์ตา เมื่อได้รับ รังสี UV เข้าตาเป็นเวลานานๆ เยื่อบุตาขาวจะผิดปกติเป็นต้อลม ต้อเนื้อ รังสี UV ผ่านเข้าสู่เลนส์ตาที่เคยใสก็จะเปลี่ยนโครงสร้างจนทึบแสง เป็นต้อกระจกได้ในที่สุด

ดังนั้น การเคลือบสารUVX บนผิวเลนส์ จะสามารถป้องกันรังสี UV เข้าสู่ดวงตา

UVX LENS
- สาม
รถป้องกันตาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ถึง 400 nm.
-
ป้อ
กันการเสี่ยงต่อการเป็นตาต้อกระจกได้
-
สาม
รถใช้ได้กับทุกคนที่ต้องรับแสงแดดจ้าและแสงเทียมต่าง ๆ
-
สาม
รถป้องกันแสงสำหรับผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการรักษาทางการแพทย์ ผู้ป่วยขณะรักษาตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ผ่าตัดต้อกระจกแล้ว
-
เลน
CR 39 ทุกชนิดสามารถเคลือบสาร UVX ได้ และยังสามารถย้อมสีต่าง ๆ เพื่อป้องกันแดดได้อีกด้วย

รังสี ยูวี (Ultra Violet) จากแสงแดด อันตรายอย่างไร ?
ในแสงแดดและแสงเทียมที่มีพลังงานสูง จะมีรังสียูวีหรืออัลตราไวโอเลทซ่อนอยู่เสมอ ปกติเราไม่สามารถมองเห็นรังสีนี้ แต่ผลของรังสียุวีที่เราเห็นได้ชัด เช่น การซีดจางของสีเสื้อผ้า , การที่ผิวมีสีเข็มขึ้นหรือไหม้เกรียมเพราะอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ( ถูกรังสียูวีเป็นเวลานานนั้นเอง )

ผลที่เกิดกับเลนส์ตา จากรังสียูวี
เลนส์ตาและเรตินาในดวงตาของเราไม่มีระบบป้องกันตนเองจากรังสียูวีเมื่อต้องรับรังสียูวีเป็นเวลานาน เลนส์ตาที่เคยเป็นผลึกใสและทำหน้าที่รวมแสงได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะเริ่มเปลี่ยนโครงสร้างจากใสโปร่งแสง ไปเป็นขุนทึบแสงจนเกิดเป็นต้อกระจกในที่สุด

เลนส์ที่เคลือบสาร UVX
-
สาม
รถป้องกันดวงตาจากแสงอัลตราไวโอเลททุกชนิดได้ 100 %
-
ลดอ
ัตตราเสี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องรับแสงเทียมที่มีพลังงานสูง เช่น ศัลยแพทย์ สถาปนิก วิศวกร ทันตแพทย์ ช่างเขียนแบบ ฯลฯ
-
ลดอ
ัตตราเสี่ยงสำหรับผู้ที่ได้รับแสงแดดเป็นประจำ เช่น งานก่อสร้าง เทนนิสการเล่นกีฬาทางน้ำ ตกปลา เกษตรกร การเล่นกอลฟ์ ฯลฯ
- สามารถป้องกันแสงยูวีสำหรับผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างและหลังการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ได้ผ่าตาต้อกระจกแล้ว

คุณเคยรู้สึกไม่สบายตา....เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางแสงจ้าหรือไม่ ?
ความแรงของแสงจ้าที่เกินพอดี ย่อมทำให้ดวงตาของเรารู้สึกพร่ามัวและด้วยรังสีUVในแสงแดด ยิ่งทำให้เรารู้สึกระคายเองตาได้มากยิ่งขึ้น
คุณสามารถป้องกันได้ด้วย ยู.วี.เอ็กซ์เลนส์ ( UVX LENS )

MULTICOATED LENS

เลนส์ที่เคลือบสารมัลติเลเบอร์ไว้ที่ผิวของเลนส์ทั้งด้านใน และด้านนอก คุณสมบัติ
-
ตัว
ลนส์ใสเพราะยอมให้แสงผ่านถึง 99 %
-
ให้
าพที่คมชัด เป็นธรรมชาติ
-
ตัด
สงสะท้อนจากภาพเหนือเลนส์ ทำให้ไม่มีแสงสะท้อนที่ผิวเลนส์
-
อ่า
หนังสือได้นานขึ้น
-
ใส่
บรถเวลากลางคืนได้ดี ให้ภาพที่ชัดและไม่มีแสงสะท้อน
-
สวย
ามด้วยประกายโค้ดสีรุ้งจากผิวเลนส์
-
เคล
อบได้ทั้งกระจกและพลาสติก

เลนส์มัลติโค้ตยังสามารถเคลือบสารพิเศษเพื่อเพิ่มคุณสมบัติ คือ
1. HARD COATED คือเคลือบแข็งบนผิวเลนส์ ป้องกันผิวเลนส์ไม่ให้เป็นรอยขีดข่วนง่าย สามารถใช้งานได้นานขึ้น
2. ANTY WATER DROP หรือ AQUA COATED คือเคลือบผิวเลนส์ให้เรียบป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตย์ การจับตัวของฝุ่นละออง ป้องกันการก่อตัวของริ้วรอยและคราบต่าง ๆ บนผิวเลนส์ โดยเฉพาะหยดน้ำ ของเหลวอื่น ๆ คราบไขมันและยังง่ายในการทำความสะอาดกว่าเลนส์ปกติทั่วไปเพียงล้างออกหรือเช็ดเบา ๆ เลนส์ก็จะใสใหม่ตลอดเวลา
3. UVX
คือการเคลือบเลนส์ป้องกันคลื่นแสงอุลตร้าไวโอเลตที่มาจากแสงของดวงอาทิตย์หรือแหล่งแสงเทียมพลังงานสูง ๆ ที่มีอันตรายต่อดวงตา

 เลนส์ปรับแสง PHOTO LENS & TRANSITION

เลนส์ปรับแสงเป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความเข้มของสีเลนส์ได้ตามความเข้มของแสงที่ได้รับ และสีของเลนส์จะจางลงเมื่อเข้ามาสู่ที่ร่มเพราะในเนื้อวัสดุของเลนส์จะผสมสารซิลเวอร์ฮาไลด์ ซึ่งไวต่อแสงแดด และรังสี UV เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งควบคู่กับการทำงานในออฟฟิศ และผู้ที่ต้องการใส่แว่นอันเดียวตลอดเวลา รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นเลนส์แก้ไขปัญหาสายตาและเป็นแว่นกันแดดได้ในเวลาเดียวกัน

- ปรับเปลี่ยนสีได้เข้มมากน้อยขึ้นอยู่ความเข้มของแสง

- เปลี่ยนสีให้จางลง เมื่อเข้ามาในร่ม 15 วินาที

- ปรับเปลี่ยนสีได้ทั้งสีเทา , สีชา

- สามรถป้องกันรังสี UV จากแสงแดด

- เพิ่มคุณสมบัติพิเศษได้ โดยเคลือบสาร MULTICOATED

- มีทั้งเนื้อวัสดุกระจกและพลาสติก  

เลนส์   » E.M.I. LENS

 E.M.I. LENS Electro Magnetic Infrared Lens

Electrical Microwave Infrared Lens คุณสมบัติ

 @ ป้องกันคลื่น Magnetic ( แม่เหล็กไฟฟ้า ) จากอุปกรณ์ไฟฟ้า

 @ ป้องกันคลื่น Microwave, รังสี Infrared จากจอคอมพิวเตอร์ ,โทรทัศน์ และ แสงเทียมต่างๆ

 @ เคลือบสาร Anti reflex multicoated ใสให้ความคมชัด แสงผ่านได้ถึง 99.9 %

 @ เคลือบสาร Anti Water Drop ป้องกันไฟฟ้าสถิต ทำให้ฝุ่นและน้ำไม่เกาะผิว เลนส์ สะดวกในการทำความสะอาด

 @ เคลือบสาร HARD COATED ผิวเลนส์แข็งเป็นพิเศษ ลดรอยขีดข่วน ยืดอายุ การใช้งานของเลนส์

 @ เหมาะสมกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ที่ทำงานในสำนักงาน

 @ เป็นเลนส์พลาสติก CR39 เคลือบมัลติโค๊ต ทำได้ทั้งเลนส์ชั้นเดียว, เลนส์ HI-INDEX และ เลนส์ PROGRESSIVE

 @ สามารถทำได้ทุกค่าสายตา ข้อจำกัด

@ ทำได้เฉพาะเลนส์พลาสติก CR39 เคลือบมัลติโค๊ต เท่านั้น

 @ ไม่สามารถเคลือบ สาร UVX , ทำสีเลนส์

 @ ไม่สามารถเคลือบบนเลนส์ปรับแสง

 

เลนส์ » กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS )

กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS )

ถูกผลิตและเคลือบด้วยน้ำยาพิเศษสีเขียวหยกเพื่อปกป้องดวงตาของคุณจากความแรงจ้าของทุกแหล่งกำเนิดแสงสามารถปรับลดปริมาณแสงที่กระจายตัวหลังการกระทบฝุ่นในอากาศให้เข้ามายังดวงตาได้อย่างเหมาะสม ทั้งให้ภาพเป็นธรรมชาติด้วยคุณสมบัติ Anti-Glare ขณะสวมใส่จึงเห็นภาพที่คม ชัดเจนพร้อมความรู้สึกที่เย็นสบายตา  

กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS ) ให้ความปลอดภัยสูงสุดและลดความระคายเคืองจากรังสียูวีด้วยคุณสมบัติของสาร UVX ซึ่งตัดรังสี UVA และ UVB ได้ถึง 100%

 

กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS ) ยังเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้โดดเด่นเหนือเลนส์กันแดดชั้นนำทั่วไปด้วยการเคลือบเลนส์แบบ Multicoated บนผิวทั้ง 2 ด้าน ภายใต้ระบบสูญญากาศ ทำให้กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS ) สามารถลดและตัดแสงสะท้อนจากผิวเลนส์ไม่ให้เข้ารบกวนสายตาได้ดีกว่าเลนส์กันแดดทั่วไปที่ไม่ได้ผ่านขบวนการเคลือบด้วย Antireflex Multicoated

 

กอล์ฟเลนส์ ( GOLF LENS ) จึงช่วยให้คุณสามารถมองภาพได้อย่างชัดเจนและให้ความสบายตาสูงสุดท่ามกลางความแรงจ้าจากทุกแหล่งกำเนิดแสง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขับรถ , เลนส์กอล์ฟ , ท่องเที่ยว , หรือผู้ที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง

 สีเลนส์มีประโยชน์อย่างไร

1. สีเทา - ให้ความรู้สึกสบายตา - ลดความจ้าของแสง
2. สีควันบุหรี่ - ให้ความรู้สึกสบายตา - ลดความจ้าของแสง
3. สีเขียว - ช่วยผ่อนคลายการเพ่งให้ตา
4.
สีน้ำตาล - ไม่ช่วยลดความจ้าของแสง เลือกสีเลนส์ที่เหมาะกับการแต่งกาย

BLUE
• สีฟ้าใสสร้างความรู้สึกคล่องแคล่ว สดใส
• เสริมสร้างบุคลิกของผู้ประสบความสำเร็จให้โดดเด่น
•
เหมาะกับผู้ที่ชอบแต่งตัวโทนสีฟ้า ม่วง ชมพู หรือเทา

PURPLE
• เน้นความรู้สึกโก้หรู สง่างาม
• ช่วยอำพรางริ้วรอยไม่พึงปรารถนารอบดวงตา
•
เหมาะกับผู้ที่ชอบแต่งตัวโทนสีฟ้า ม่วง ชมพู หรือตามแฟชั่น

PINK
• ให้ความนุ่มนวล เปล่งปลั่ง แก่บริเวณรอบดวงตา
• ช่วยอำพรางความลึกของดวงตา และริ้วรอยตามธรรมชาติ
•
เหมาะกับผู้ที่ชอบแต่งตัวโทนสีฟ้า ม่วง ชมพู หรือเทา

BROWN
• ให้ความเป็นธรรมชาติ
• เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส และเวลา
•
เหมาะกับผู้ที่ชอบแต่งตัวโทนสีน้ำตาล เขียว ส้ม หรือเทา

GRAY
• เสริมสร้างบุคลิกให้แลดูเข้มแข็ง และหลักแหลม
• เหมาะกับกิจกรรม กีฬา ธุรกิจ และโอกาสต่าง ๆ
•
เข้าได้กับการแต่งกายในทุก ๆ สี

GREEN
• ให้เอกลักษณ์เฉพาะตัว
• เหมาะกับการเล่นกีฬาและกิจกรรมกลางแจ้ง
• เหมาะกับผู้ที่ชอบแต่งตัวโทนสีน้ำตาล เขียว เหลือง ส้ม หรือเทา 2 กลุ่มสีร่วม…
สีสันแฟชั่นชาย สีร่วม คือปัจจัยสำคัญสำหรับแฟชั่นชาย ที่เหมาะกับการแต่งตัวไม่ว่าอย่างเป็นทางการ หรือตามสบาย

BLUE & GRAY
•
ให้ความรู้สึกคล่องแคล่ว หลักแหลม เต็มไปด้วยความสำเร็จ

BROWN & GRAY GREEN & GRAY
•
เสริมสร้างบุคลิกให้เคร่งขรึม แต่โก้หรู ทุกโอกาสและเวลา

..ส่วนของภรรยาผมเป็นเลนส์ปรับแสง เวลาออกไปเจอแสงแดด เลนส์จะเปลี่ยนเป็นสีดำ  แต่ถ้าออกไปเจอผมตอนเมาแล้วอยู่กับสาวๆละก็เลนส์ก็
  จะเปลี่ยนเป็นสีแดง..ทันที ตอนนี้ละก็เตรียม...วิ่งได้เลย ฮาฮา..ชีวิต