เมนบอร์ด มาพร้อมกับยุคของการเปลี่ยนแปลง

เมื่ออินเทลได้เปิดตัวอินเทอร์เฟซใหม่ไม่ว่าซีพียูซ็อกเก็ต 775 อินเทอร์เฟซสำหรับการ์ดแสดงผลแบบใหม่ PCI – Express และหน่วยความจำ DDR2 จึงทำให้ผู้ผลิตชิปเซตต่างๆ และผู้ผลิตเมนบอร์ดเองต้องเปลี่ยนอินเทอร์เฟซต่างๆ ตามกันไปแบบยกใหญ่ ทั้งนี้ไม่ใช่แต่อินเทอร์เฟซใหม่สำหรับซีพียูอินเทลเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ทางเอเอ็มดีก็มีการเปลี่ยนอินเทอร์เฟซใหม่เช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่มากเท่ากับทางฝั่งอินเทลเท่าไดนัก

สำหรับอนาคตของเมนบอร์ด ที่เห็นแน่นอนแล้วครับว่าจะกลายเป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานแน่นอน นั้นคืออินเทอร์เฟซ PCI – Express เนื่องจากอินเทอร์เฟซ PCI แบบเดิมนั้นอาจจะไม่เพียงพอแล้วกับขนาดของแบนด์วิดธ์ที่ใช้กันกับฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน เนื่องจากอินเทอร์เฟซ PCI แบบเดิมนั้นมีแบนด์วิดธ์เพียง 133 เมกะเฮิรตซ์ เท่านั้น แต่ว่าหน่วยความจำและซีพียูที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีระดับแบนด์วิดธ์เกือบ 1 กิกะไบต์ แล้วถึงแม้จะจริงอยู่ว่าอินเทอร์เฟซแบบ PCI และ AGP เดิมนั้นยังคงตอบสนองกับความต้องการได้อยู่ แต่ก็มีบ้างบางเหตุการณ์ที่ต้องมีการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลเกินที่แบนด์วิดธ์ของระบบบัสในปัจจุบันจะรับได้ ทำให้เกิดความคับคั้งของข้อมูลจนเกิดเป็นเหตุการณ์คอขวดขึ้นได้ นอกจากนี้การที่มีการพัฒนาแบนด์วิดธ์ของซีพียูและหน่วยความจำไปมากแล้ว ถ้าไม่มีการพัฒนาอินเทอร์เฟซส่วนนี้เลยก็จะไม่ทำให้ระบบในอนาคตสามารถรองรับกับงานหรือกับแอพพลิเคชันได้อย่างเพียงพอ

หัวใจหลักของการเปลี่ยนยุคของเมนบอร์ดนอกจากจะเกิดจากซีพียูแล้วยังเกิดจากการกำแหนิดใหม่ของเทคโนโลยีด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะปรากฏออกมาในรูปแบบของชิปเซตต่างๆ นั้นเอง  ก็มีชิปเซตสำหรับเมนบอร์ดที่ใช้อินเทอร์เฟซใหม่ๆ ออกมาหลากหลายตัว ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มผู้ใช้งานซีพียูทั้ง 2 ค่ายดังต่อไปนี้

พอร์ต PCI-Express x16 สำหรับการ์ดแสดงผล

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูอินเทล

สำหรับเมนบอร์ดเพื่อใช้งานกับซีพียูอินเทล Pentium 4 ซ็อกเก็ต 775 และ Celeron ที่เป็นซ็อกเก็ต 775 เช่นเดียวกันนั้น ในปัจจุบันมีชิปเซตที่ออกมารองรับอยู่ 3 รุ่นใหญ่ๆ ด้วยกันคือชิป Intel i915, Intel i925 และ SIS 649 ซึ่งชิปเซตแต่ละตัวนั้นต่างก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปดังที่สรุปไว้ในตารางที่ 1 ดังนี้ครับ

  Intel 925XE Intel 925X Intel 915P Intel 915G Intel 915GV
Supported CPUs Intel Pentium 4 Intel Pentium 4 / Celeron D
FSB frequency 1066/800MHz 800MHz 800MHz / 533MHz
Hyper-Threading support Yes
Maximum memory capacity 4GB
Supported memory types DDR2 533/400 DDR2 533/400 or DDR 400/333
Supported FSB modes / Memory frequencies DDR2 800/DDR2-533 800/DDR2-533
DDR2 800/DDR2-400 800/DDR2-400
- 800/DDR400
- 533/DDR400
- 533/DDR333
Integrated graphics None Intel Graphics Media Accelerator 900
Discrete graphics PCI Express x16 None
PCI Express slots PCI Express x16 (1), PCI Express x1 (4) PCI Express x1 (4)
PCI slots 6
USB 8 USB 2.0 ports
Gigabit Ethernet Yes
10/100 Mbit LAN MAC Yes
Audio Intel High Definition Audio, 24-bit 192kHz
Supported South Bridges ICH6, R, W, RW

ตาราง ข้อมูลของชิป Intel i915 และ i 925 ในรุ่นต่างๆ

Features Benefits
SiS HST support Allows streams of chipset data to flow efficiently
CPU supported Intel Pentium® 4 FSB 800 MHz CPU with Hyper-Threading technology.
MuTIOL 1G® technology Proprietary Interconnect between SiS649 and SiS965.SiS MuTIOL 1G® deliver 1GB/s bandwidth.
PCI Express x16 Graphic Support Provide best system performance through high bandwidth 4.0GB/s.
DDR2-533/DDR-400 support Support Maximum Memory Bandwidth 4.2GB/s (DDR2-533) or 3.2GB/s (DDR-400).
Integrated SATA Controller with RAID functions Provide 4 independent SATA ports, compliant with Serial ATA 1.0 Specification. Support RAID 0, 1, 0+1 and JBOD.
ATA133 enhancement Fastest storage support. Increasing data/file transfer rate.
AC97 Controller Hollywood 3D stereo enriches audio surrounding with up to eight channels.
ACR(Advanced Communications Riser) card support Allow multiple configurations on a single card to extend USB, LAN, HomePNA, modem, and audio for greater flexibility. Compatible to PCI with minimum design changes.
Integrated Communication Controller for Gigabit LAN or HPNA use GMII/RGMII interface used for 10/100/1000Mbps LAN or 1/10Mbps HomePNA function. Reaching cost-effective solution and design elasticity.
Integrated USB2.0 Controllers One controllers for eight ports, achieving real legacy free systems.

ตาราง ข้อมูลชิป SIS 649

จากตารางจะเห็นได้ชัดครับว่าชิปเซต SIS 649 นั้นไม่รองรับการทำงานของหน่วยความจำแบบ Dual Channel ซึ่งตรงนี้ยังถือว่าเป็นจุดด้อยที่ต้องมีการพัฒนาไปอีกสักระยะ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ชิปเซตต่างๆ นั้นล้วนพัฒนาให้รองรับการทำงานแบบ Dual Channel แล้วแทบทั้งสิ้น และข้อสังเกตอีกอย่างที่เห็นได้ครับ คือทางบริษัท VIA ที่เคยผลิตชิปเซตให้ Intel มานานแสนนานนั้นกลับไม่มีชิปเซตตัวไหนออกมารองรับการทำงานของซีพียู ซ็อกเก็ต 775 เลย แต่ว่าถ้ามองไปทางฝั่ง AMD บ้างกลับพบว่ามีการพัฒนาชิปเพื่อซีพียูของ AMD อยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดนั้นก็มีชิปเซตที่ออกมารองรับอินเทอร์เฟซ PCI – Express แล้ว

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูของอินเทลเราพอจะแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซต I915 และ SIS 649 เนื่องจากชิปเซตทั้ง 2 ตัวนี้ออกแบบมาให้รองรับกับหน่วยความจำ DDR SDRAM เดิมอีกทั้งชิป I915 บางรุ่นได้รวมชิปประมวลผลสามิติมาในตัวด้วย จึงทำให้มีราคาที่ถูกและสามารถใช้ร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ในอนาคตได้

อีกกลุ่มจะเป็นกลุ่มผู้ใช้งานระดับมืออาชีพหรือ High Performance ในกลุ่มนี้จะเป็นเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซต I925 ซึ่งมีออกมาหลากหลายระดับด้วยกัน และล่าสุดที่เห็นได้ชัดคืออินเทลได้มีการพัฒนาบัสภายในซีพียูจากเดิม 800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเป็น 1066 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ต้องมีชิปออกมารองรับซีพียูตัวใหม่นี้ ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากชิป i925 เดิมมาเป็น i925XE ที่จะมีระดับบัสสูงขึ้นและทำงานได้เป็นอย่างดีกับซีพียูตัวใหม่ที่ใช้บัส 1066 เมกะเฮิรตซ์ เช่นกัน

สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับซีพียูอินเทลในปี 2005 นี้แน่นอนครับว่าต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต 775 แน่นอนเพราะอนาคตสดใส อีกทั้งซ็อกเก็ตแบบ 478 ก็เริ่มเลือนหายไปจากตลาดแล้ว นอกจากนี้การ์ดแสดงผลแบบใหม่ที่เป็นอินเทอร์เฟซ PCI–Express และหน่วยความจำ DDR2 SDRAM ก็มีเข้ามาจำหน่ายหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่ายุคของการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปท่านที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ควรจะพิจารณาสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยครับ

เมนบอร์ดสำหรับซีพียูเอเอ็มดี

สำหรับเมนบอร์ดของซีพียูเอเอ็มดี นี้ยังคงมีเมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ต 462 หรือที่คุ้นหูกันในชื่อซ็อกเก็ตเอ อยู่เช่นเดิมนะครับ และคาดว่าในปี 2005 นั้นเมนบอร์ดกลุ่มนี้ก็ยังจะคงอยู่ต่อไปสักระยะ เนื่องจากทางเอเอ็มดีนั้นได้ปล่อยซีพียู Sempron ที่ทำงานบนซ็อกเก็ต 462 ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ปลดซีพียูรุ่นสูงกว่าออกไปเพื่อไปทำตลาดซีพียูที่ใช้ซ็อกเตแบบใหม่แทน ด้วยเหตุนี้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต 462 ก็ยังคงมีออกมาจำหน่ายเช่นเดิม แต่ว่าถ้ามองลึกลงไปหน่อยจะเห็นว่าชิปเซตสำหรับซ็อกเก็ต 462 นั้นได้หยุดนิ่งมาสักระยะแล้ว ซึ่งนี้ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกได้ครับว่าอาจจะมาถึงทางตันแล้วสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ต 462 ถึงแม้ VIA จะออกชิปเซต VIA KT880 มาใหม่ล่าสุดก็ตามแต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากถูกชิปเซตจาก NVIDIA มาเกทับเสียมากแล้ว อีกทั้ง NVIDIA เองก็ไม่มีข่าวคราวว่าจะทำชิปเซตเพื่อซ็อกเก็ต 462 ใหม่อีกด้วยดูๆ แล้วอนาคตมืดมนพอสมควรครับ

เมนบอร์ดที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ SLI (Scan Line Interleaving)

หันมาดูซ็อกเก็ตแบบใหม่บ้างสำหรับซีพียู AMD ในตอนนี้ที่เห็นวางตลาดอยู่ก็จะเป็นซ็อกเก็ต 754 ,939 และ 940 ซึ่งซ็อกเก็ต 940 นี้อาจจะไม่เห็นมากนักเนื่องจากเป็นเมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์เซอร์เวอร์เสียมากกว่า แต่สำหรับเมนบอร์ด 754 และ 939 นั้นในตอนนี้ก็มีเข้ามาอย่างประปราย แต่คาดว่า นี้จะมีเข้ามาจำหน่ายอย่างหลากหลายเนื่องจากทาง AMD นั้นได้ปล่อยซีพียู Athlon 64-Bit ออกมาหลากหลายรุ่น ซึ่งมีทั้งเพื่อการใช้งานกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไปราคาประหยัดในรุ่น Sempron ที่เป็นซ็อกเก็ต 754 รุ่นราคาระดับปานกลางเพื่อกลุ่มผู้งานทั่วไปกึ่ง High Performance ในซ็อกเก็ตถึงรูป 2 แบบ คือซ็อกเก็ต 754 ใน Athlon 64-Bit ที่มีระดับ L2 Cache 512 เมกะไบต์ และกลุ่มผู้ใช้งาน High Performance ในซีพียูซ็อกเก็ต 939 ที่เป็นซีพียู Athlon 64-Bit เช่นกันแต่มีขนาด L2 Cache มากถึง 1 เมกะไบต์ ซึ่งแค่เพียงซ็อกเก็ตก็สามารถบ่งบอกได้แล้วว่าผู้ใช้งานนั้นจะเลือกเมนบอร์ดและซีพียูแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานของตนเอง

นอกจากนี้ชิปเซตที่ใช้งานร่วมกับซีพียู Athlon 64-Bit ก็มีออกมาอย่างหลากหลายอีกด้วยไม่ว่าชิปเซต NVIDIA Nforce4 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายไม่ว่าจะเทคโนโลยี SLI (Scan Line Interleaving) ที่ทำงานบนอินเทอร์เฟซ PCI – Express หรือแม้กระทั้งพอร์ต SATA 300 ที่ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดการส่งข้อมูลมากถึง 1 เท่า จาก SATA ที่เราใช้กันในปัจจุบัน และถ้ามองไปทางฝั่งชิปเซตของ VIA บ้างจะพบว่า VIA ก็มีการพัฒนาชิปเซตของตนเพื่อใช้กับซีพียู Athlon 64-Bit เช่นเดียวกัน ซึ่งล่าสุดก็ชิปเซต VIA K 8 T 890 ก็มีอินเทอร์เฟซ PCI – Express พร้อมกับเทคโนโลยี Hyper 8 technology ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและชิปเซตได้มากถึง 1 กิกะไบต์ เลยทีเดียว และที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้เป็นตารางการเปรียบเทียบระหว่างชิปเซตทั้ง 2 ได้ดังตารางที่ 3 ครับ

Chipset nForce4 nForce4 Ultra nForce4 SLI
Design Single-Chip Single-Chip Single-Chip
Socket 754/939 939/940 939/940
CPU Support Sempron, Athlon64 Athlon64, Athlon64 FX Athlon64, Athlon64 FX
HT-Link 800 MHz 1 GHz 1 GHz
Memory Dual-DDR400 Dual-DDR400 Dual-DDR400
ECC Support No No No
Max. Memory 4 GB 4 GB 4 GB
AGP No No No
PCI Express 20 Lanes,16+1+1+1 20 Lanes,16+1+1+1 20 Lanes,configurable
PCI 5x 32 Bit PCI 2.3 5x 32 Bit PCI 2.3 5x 32 Bit PCI 2.3
USB 2.0 10 Ports 10 Ports 10 Ports
Firewire/1394 No No No
UltraATA 2 UltraATA/133 Channels 2 UltraATA/133 Channels 2 UltraATA/133 Channels
Serial ATA 4 SATA Ports 150 MB/s 4 SATA2 Ports 300 MB/s 4 SATA2 Ports 300 MB/s
RAID SATA & UltraATA SATA & UltraATA SATA & UltraATA
Networking Native GbE Native GbE Native GbE
SN Engine No Yes Yes
Audio AC97 7.1 Sound AC97 7.1 Sound AC97 7.1 Sound
Firewall 2.0 Yes Yes Yes
nTune Yes Yes Yes
SLI Support No No Yes

ตาราง ชิปเซต NVIDIA Nforce4 ในรุ่นต่างๆ

Feature VIA K8T890
North Bridge VIA K8T890
Processor Support AMD Opteron / Athlon FX / Athlon 64 / Sempron (939, 940 & 754 pin)
Front Side Bus 1GHz/16-bit (Upstream & Downstream) HyperTransport Bus Link
PCI Express Graphics Support PCI Express x16 Graphics
PCI Express Peripheral Support 4 PCI Express x1
Memory Support DDR memory controller integrated directly into AMD64 processor¹
Bus Architecture Asynchronous
South Bridge VIA VT8237
North/South Bridge Link Ultra V-Link (1066MB/s)
Audio VIA Vinyl™ 6-channel Audio (AC'97 integrated)
  VIA Vinyl™ Gold 8-channel Audio² (PCI companion controller)
Networking VIA Velocity™ Gigabit Ethernet (PCI companion controller)
  VIA integrated 10/100 Fast Ethernet
PCI Devices/Slots 6 slots
SATA Dual Channel Serial ATA supports 2 SATA devices
  SATALite™ interface for two additional SATA devices 4 total)
V-RAID RAID 0, RAID 1, and RAID 0+1³ & JBOD (SATA)
IDE Parallel ATA133 (up to 4 devices)
High Speed USB 8 ports
Modem MC'97
Package 933 Ball Grid Array
Power Management ACPI/APM/PCI/PM/HTSTOP
Power 1.5V core, 0.15um process

ตารางข้อมูลชิปนอร์ทบริดจ์ VIA K 8 T 890 และชิป เซาทบริดท์ VIA VT 8237

สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับซีพียูเอเอ็มดี นี้แน่นอนครับว่าเมนบอร์ดซ็อกเก็ต 462 ยังคงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มผู้ใช้งานระดับ High Performance ด้วย เพราะมันมีระดับราคาที่ไม่แพงและเป็นเมนบอร์ดที่ถือว่าคุ้มกับการลงทุนเช่นเดิม แต่สำหรับท่านที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่และต้องการประสิทธิภาพอย่างสูงสุด คงจะต้องเป็นเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต 939 แน่นอน เพราะมันมีอนาคตที่สดใสกว่าซ็อคเก็ตแบบอื่นๆ เนื่องจากเมนบอร์ดกลุ่มนี้จะมีอินเทอร์เฟซ PCI-Express สำหรับการ์ดแสดงผลในอนาคต อีกทั้งยังรองรับการทำงานของหน่วยความจำแบบ Dual Channel อีกด้วย

หน่วยความจำในช่วงตั้งแต่ปี 2005 กับการแจ้งเกิดของ DDR2 SDRAM

หน่วยความจำ DDR ทั่วไปที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้ก็มีหลาหลายความเร็วให้เลือกใช้กันไม่ว่าจะ PC2100, PC2700, PC3200, PC4400 ฯลฯ ซึ่งต่างก็มีความเร็วเพิ่มมากขึ้นทุกขณะเพื่อให้เหมาะสมกับระดับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อมีการพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ไม่ว่าจะซีพียูหรือการ์ดแสดงผลก็ตาม ทำให้ช่องทางการส่งข้อมูลนั้นมีขนาดกว้างขึ้นและส่งผลโดยตรงกับหน่วยความจำ จึงทำให้หน่วยความจำนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ถึงแม้ว่าหน่วยความจำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จะมีความเร็วมากขึ้นก็ตามแต่ก็คงอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

หน่วยความจำ DDR2 SDRAM นับว่าเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในอนาคตที่ค่อนข้างจะชัดเจน เนื่องจากผู้ผลิตหน่วยความจำหลากหลายยี่ห้อต่างก็ให้ความสนใจและเริ่มทำออกมาจำหน่ายกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาให้มีความเร็วเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะหน่วยความจำ DDR2 SDRAM มีขนาดแบนด์วิดธ์ที่กว้างมากถึง 8.5 กิกะไบต์ เมื่อทำงานแบบ Dual Channel สำหรับ DDR2-533 และมากถึง 10.7 กิกะไบต์ สำหรับ DDR2-667 เมื่อทำงานแบบ Dual Channel เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน่วยความจำ DDR2 SDRAM เหมาะที่จะนำมาใช้กับซีพียูรุ่นใหม่ที่มีระดับบัสภายในที่สูงขึ้น อีกทั้งการออกแบบแพลตฟอร์มใหม่นั้นต้องการช่องทางการขนส่งข้อมูลที่กว้างอีกด้วย

Memory Timings Bandwidth in the dual-channel mode
DDR400 SDRAM 2.5–3–3 6.4 GB/sec
DDR400 SDRAM 2–3–2 6.4 GB/sec
DDR500 SDRAM 3–3–3 8.0 GB/sec
DDR2-400 SDRAM 4–4–4 6.4 GB/sec
DDR2-533 SDRAM 5–5–5 8.5 GB/sec
DDR2-533 SDRAM 4–4–4 8.5 GB/sec
DDR2-667 SDRAM 5–5–5 10.7 GB/sec
DDR2-667 SDRAM 4–4–4 10.7 GB/sec

ตารางของหน่วยความจำแต่ละความเร็ว

จากตารางที่ 3 จะเห็นได้ครับว่าหน่วยความจำ DDR2 SDRAM นั้นจะมีทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกันคือ DDR2-400, DDR2-533 และ DDR2-667 ซึ่งต่างก็มีค่า Timing ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะกับระดับการใช้งานนั้นเอง และถ้าเรานำไปเปรียบเทียบกับหน่วยความจำ DDR SDRAM ทั่วไปจะเห็นได้ชัดครับว่าหน่วยความจำ DDR2 SDRAM นั้นจะมีคุณสมบัติหลายๆ ประการที่เหนือกว่า DDR SDRAM ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเรื่องของแบนด์วิดธ์ , เรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ DDR2 SDRAM นั้นจะใช้พลังงานไฟฟ้าที่ต่ำกว่า หรือแม้กระทั้งขนาดความจุก็ตามที่ DDR2 SDRAM สามารถที่จะมีความจุได้มากกว่า DDR ในปัจจุบันนี้ได้มากกว่าอีกด้วย

  DDR SDRAM DDR2 SDRAM
Data transfer rate 200, 266, 333, 400MHz 400, 533, (667, 800) MHz
Chips packaging TSOP and FBGA FBGA
Power voltage 2.5V 1.8V
Chips capacity 64Mbit – 1Gbit 256Mbit – 4Gbit
Internal banks 4 4 and 8
Prefetch (MIN Write Burst) 2 4
CAS Latency (CL) 2, 2.5, 3 3, 4, 5
Additive Latency (AL) None 0, 1, 2, 3, 4
Read latency CL CL+AL
Write latency 1 Read latency - 1
Output calibration None Off-Chip Driver (OCD) Calibration
Data Strobes Bidirectional Strobe (single ended) Bidirectional Strobe (single ended or differential) with RDQS
On-die bus termination None Integrated
Burst Lengths 2, 4, 8 4, 8

ตารางเปรียบเทียบหน่วยความจำ DDR SDRAM กับ DDR 2 SDRAM

หน่วยความจำ DDR2 SDRAM ขณะต่อใช้งานแบบ Dual Channel

หน่วยความจำ DDR SDRAM เปรียบเทียบกับ DDR 2 SDRAM