ทิศทาง VGA ของคอมพิวเตอร์ มาใน PCI-e

เทคโนโลยี AGP ที่เราคุ้นเคยมานานกว่า 4 ปี กำลังจะเลือนหายไปด้วยการเข้ามาของอินเทอร์เฟซใหม่ในนาม P CI Express หรือเรียกสั่นๆ ว่า PCI-e อินเทอร์เฟซนี้เริ่มเข้ามาสู่วงการคอมพิวเตอร์ในช่วงปลายปี 2004 ซึ่งมาพร้อมกันกับแพลตฟอร์ม L GA775 ของ Intel ท่าทีของอินเทอร์เฟซนี้ในช่วงเปิดตัวออกมาแรกๆ เหมือนจะมีอาการไม่ค่อยดี เพราะในช่วงนั่นการ์ดแสดงผลยังไม่ได้รับการพัฒนาออกมาเพื่อรองรับอินเทอร์เฟซนี้เสียทีเดียว อีกทั้งเทคโนโลยีอินเทอร์เฟซนี้ก็มีเพียง Intel เท่านั้นที่ใช้งาน แต่จนถึงที่สุดก่อนสิ้นสุดปี 2004 ผู้ผลิตซีพียูค่าย AMD ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจอินเทอร์เฟซนี้เช่นกัน ทำให้แนวทางสำหรับอินเทอร์เฟซนี้ สดใสแน่นอน ปัญญาต่อมาก็อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้การ์ดแสดงผลรุ่นใดดี

Nvidia กับการ์ดแสดงผลตระกูล GeForce 6 Series

Card Chip Memory DX Generation Chip clock Memory clock Bus width P-Pipes
GeForce 6800 Ultra NV45 256MB DX 9.0c 400 1100 256-bit 16
GeForce 6800 GT NV45 256MB DX 9.0c 350 1000 256-bit 16
GeForce 6600 GT NV43 128MB DX 9.0c 500 1000 128-bit 8
GeForce 6600 NV43 128MB DX 9.0c 300 550 128-bit 8
GeForce 6200 NV43 128MB DX 9.0c 300 550 128-bit 4
GeForce PCX 5900 NV35 128MB DX 9 375 700 256-bit 8
GeForce PCX 5750 NV36 128MB DX 9 425 550 128-bit 4

หลังจากที่การ์ดแสดงผลตระกูล F X เป็นเหมือนฝันร้ายของ N vidia ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมาอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ ATI ก็เป็นได้ แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ Nvidia หวั่นไหวแต่อย่างใด กลับพัฒนาการ์ดแสดงผลตระกูลใหม่ออกมาภายใต้ซีรีส์ GeForce 6 ซึ่งการ์ดตระกูลนี้เริ่มต้นออกมาในอินเทอร์เฟซ AGP แต่ก็มีการพัฒนาสำหรับอินเทอร์เฟซ PCI-e ด้วย การ์ดแสดงผลจาก Nvidia ที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCI-e ไ ม่ได้มีเพียงการ์ดตระกูล GeForce6 เ ท่านั้น หากยังจะมีการ์ดในตระกูล FX เ ดิม ได้รับการแปลงอินเทอร์เฟซด้วยชิบ HIS Bridge ทำการแปลงอินเตอร์ให้เฟซให้เป็น PCI-e

การ์ดตระกูล GeForce6 ที่มีอินเทอร์เฟซ PCI-e เริ่มต้นตั้งแต่ GeForce6200 ซึ่งจะเปิดตัวออกมาในช่วงปี 2005 ขยับขึ้นมาจะเป็น GeForce6600 แ ละ GeForce6600GT ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาอีกระดับ และจะมีการ์ดรุ่น GeForce6800GT แ ละ GeForce6800Ultra เ ป็นรุ่นสูงสุดของการ์ดตระกูลนี้ การ์ดในตระกูล GeForce6 ท ุกรุ่นรองรับ DirectX 9.0C และเทคโนโลยี Vertex Shadder, Pixel Shadder เ วอร์ชัน 3.0 เ ป็นที่เรียบร้อย

การ์ดแสดงผลตระกูล X

Card Chip Memory DX Generation Chip clock Memory clock Bus width P-Pipes
Radeon X850 XT PE R480 256MB DX 9.0b 540 1180 256-bit 16
Radeon X850 XT R480 256MB DX 9.0b 520 1080 256-bit 16
Radeon X800 XT PE R423 256MB DX 9.0b 520 1120 256-bit 16
Radeon X800 XT R423 256MB DX 9.0b 500 1000 256-bit 16
Radeon X800 XL R430 256MB DX 9.0b 400 1000 256-bit 16
Radeon X700 XT RV410 128MB DX 9.0b 475 1050 128-bit 8
Radeon X700 Pro RV410 128MB DX 9.0b 425 860 128-bit 8

มาดูการ์ดแสดงผลจากค่าย A TI กันต่อกับการ์ดแสดงผลอินเทอร์เฟซ P CIe การ์ดแสดงผลจากค่ายนี้ที่จริงแล้วจะมีรุ่นต่ำสุดเป็น Radeon X 300 และ X600 แต่เนื่องจากการ์ดแสดงผลทั้งสองรุ่นไม่ใช้การ์ดที่พัฒนามาเพื่ออินเทอร์เฟซ PCI-e โดยเฉพาะ ทำให้ประสิทธิภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ ATI เริ่มต้นพัฒนาการ์ดแสดงผลสำหรับอินเทอร์เฟซนี้ที่รุ่น Radeon X700Pro และ X700XT การ์ดทั้งสองรุ่นนี้เป็นการ์ดที่ออกมาชนกับ GeForce6600 และ GeForce6600GT อย่างแน่นอน เพราะรายละเอียดของเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน การ์ดรุ่นสูงสุดของ AT I เดิมทีแล้วจะเป็นการ์ดในรุ่น X800 Series แต่ปี 2005 นี้เตรียมพบกับ Radeon X850 Series ได้เลย การเข้ามาของการ์ดตระกูล X85o ผลักดันทำให้ X800 กลายเป็นการ์ดระดับสองของตาราง สาเหตุหลักที่ ATI ผลักดันการ์ดรุ่นนี้ออกมาก็เพื่อตั้งใจจะจัดการ GeForce6800 Series ให้อยู่หมัด

ฮาร์ดดิสก์ อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ

การที่จะเลือกซื้อชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์มาเพื่อประกอบเป็นคอมพิวเตอร์สักเครื่องนั้น ก็จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายชิ้นด้วยกัน ฮาร์ดดิสก์ก็เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเครื่องเพื่อให้เครื่องทำงานได้ และนอกจากนั้นแล้วยังมีผลต่อความเร็วของเครื่องด้วยเช่นกัน

ฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปจะเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะมีอินเทอร์เฟซอยู่หลักๆด้วยกันอยุ่ 3 แบบคือ SCSI, IDE และ SATA ซึ่งทั้ง 3 อินเทอร์เฟซที่กล่าวมาต่างก็ได้มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่เฉพาะกลุ่ม โดยจะอยู่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเวอร์สเตชั่นเกือบทั้งหมด สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไปคงไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ความเร็วขนาดนั้น และราคาก็ค่อนข้างแพงมากอีกด้วย จึงจะขอกล่าวถึงฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานกันอยู่โดยทั่วไปครับ

ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันอยู่เป็นส่วนมาก คงต้องยอมรับว่าเป็นฮาร์ดดิสก์อินเทอร์เฟซแบบ IDE เป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นอินเทอร์เฟซที่ใช้กันมาเป็นเวลานาน หากดูตามเทคโนโลยีของผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อแล้ว จะพบว่าฮาร์ดดิสก์แบบ IDE คงจะไม่ได้รับการพัฒนาทางกันขึ้นไปมากกว่านี้อีกแล้ว แต่ที่ยังเห็นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็คงจะเป็นเรื่องของขนาดความจุที่มีขนาดมากขึ้น ซึ่งในเวลานี้มีขนาดความจุถึง 400 กิกะไบท์ ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับเรื่องของฮาร์ดดิสก์ในปีนี้ที่มีความน่าสนใจและเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการเลือกซื้อ สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่นั่นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA หากเราสังเกตุให้ดีจะพบว่าชิปเซตรุ่นใหม่ๆของเมนบอร์ดที่ออกมาล้วนแล้วรองรับการทำงานร่วมกับดิสก์แบบ Serial ATA ทั้งสิ้น ซึ่งเราจะเห็นได้จากเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ออกมานั้นไม่ว้าจะเป้นของระบบอินเทลหรือระบบเอเอ็มดี ก็มรพอร์ต Serial ATA มาให้ใช้งานกันอยู่หลายพอร์ทด้วยกัน รวมถึงหามองที่ราคาแล้วจะพบว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จะมีราคาที่สูงกว่าฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ที่ขนาดความจุและความเร็วรอบที่เท่ากันอยู่ประมาณ 300 เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างจะคุ้มค่ากว่าหากเลือกอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA มาใช้ แต่ก็ใช่ว่าฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะหมดความน่าสนใจอยู่ทีเดียว เพราะคงยังมีอีกไม่น้อยที่ยังคงใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดิมอยู่ และเครื่องที่ใช้นั้นไม่มีรองรับการทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA ได้ ก็คงจะต้องมองไปที่ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เหมือนเดิม สำหรับหลักในการเลือกซื้อนั้นก็คงจะไม่ต่างกับฮาร์ดดิสก์แบบ Serial เท่าไรนัก เพราะจริงๆแล้วโครงสร้างพื้นฐานของฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 อินเทอร์เฟสนั้นจะเหมือนกัน

จะเลือกซื้ออย่างไร อินเทอร์เฟซแบบไหนดี?

หากเป็นการซื่อคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งเครื่องก็ควรจะเลือก อินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA ก็น่าที่จะเหมาะสมกว่า เพราะในขนาดความจุและความเร็วรอบที่เท่ากัน ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จะมีทีราคาที่สูงกว่าอินเทอร์เฟซแบบ IDE เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยหากเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA แล้ว ตอนนี้จะเป็นถึงจะมีอยู่ที่ความเร็วเดียว Serial ATA150 ก็ตามแต่ภายในปีนี้ เราคงจะได้เห็นและได้สัมผัสกับ Serial ATA2 ที่มีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 300 เมกะบิตต่อวินาที กันแน่ครับ เพราะในเวลานี้ชิปเซตที่ออกมารองรับการทำงานของ Serial ATA 2 นั้นได้ออกมาแล้ว รวมถึงฮาร์ดดิสก์ที่เป็นอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA 2 ก็เริ่มจะมีให้เห็นแล้วเช่นกัน ถึงจะยังไม่มีจำหน่ายจริงก็ตาม ขนาดความจุเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ ฮาร์ดดิสก์นอกจากจะมีการพัฒนาในด้านของความเร็วแล้วอีกอย่างหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับประสิทธิภาพ ด้วยนั่นก็คือเรื่องของขนาดความจุ ซึ่งในปัจจุบันมีความจุสูงถึง 400 กิกะไบท์ออกมาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเหตุที่ต้องมีขนาดเพราะ ความต้อนการขนาดความจุในการใช้งานนั้นมีมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากตัวโปรแกรมต่างๆที่ต้องการขนาดพื้นที่ในการติดตั้ง มากขึ้นรวมไปถึงเกมส์ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วขนาดความจุที่น่าจะเหมาะสมในการเลือกซื้อนั้น สมควรที่จะมีขนาด 80 กิกะไบท์ขึ้นไป เพื่อรองรับการใช้งานกับโปรแกรมต่างๆได้อย่างพอเพียง รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จะมีขนาดความจุเริ่มต้นที่ 80 กิกะไบท์ด้วยเช่นกัน

ความเร็วรอบในการทำงาน

ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงสุดอยู่ในเวลานี้อยู่ 15 ,000 รอบ แต่ความเร็วในระดับนี้จะอยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซเป็น SCSI เท่านั้น แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้กันอยู่โดยทั่วไปนั้นจะมีความเร็วรอบสูงสุดอยู่ที่ 10000 รอบ ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA และความเร็วมาตรฐานที่เราใช้กันอยู่เป็นส่วนมากคือ ความเร็วรอบ 7200 รอบต่อนาที โดยความเร็วระดับนี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งานทั่วไป และในเวลานี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบ 7200 รอบ ก็ได้พัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น จนมีความเร็วในการทำงานไม่แตกต่างกันมากแล้วครับ

หน่วยความจำบัพเฟอร์

หากเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA เกือบจะทุกรุ่นและทุกยี่ห้อที่มีขายอยู่ในเวลานี้จะมีขนาดหน่วยความจำบัฟเฟอร์ขนาด 8 เมกะไบท์อยู่เกือบทั้งหมด จะมีเพียงฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ที่จะมีให้เลือกทั้งขนาดบัฟเฟอร์ 2 และ 8 เมกะไบท์ และในตอนนี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีหน่วยความจำบัพเฟอร์ถึง 16 เมกะไบท์ ก็มีออกมาจำหน่ายแล้วเช่นกัน แต่จะอยู่รุ่นที่ขนาดความจุสูงเท่านั้น เพราะในฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดควาจุสูงๆนั้นสมควรที่จะมีขนาดบัฟเฟอร์ที่สูงตามเช่นกัน เพราะจะช่วยให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นดีขึ้น เพราะมีที่พักข้อมูลมากนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

สำหรับการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์นอกจากเรื่องของสเปกต่างๆที่เราควรจะรู้เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกซื้อแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องของการรับประกัน เพราะฮาร์ดดิสก์ก็เป็นอุปกรณ์ที่มีโอกาสเสียได้อยู่ตลอดเวลา เพราะมีการเคลื่อนที่ภายในอยู่ตลอด การรับประกันจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งส่วนใหญ่จะรับประกันอยู่ที 3 และ 5 ปี สำหรับการซื้อจากดีเลอร์ที่ได้รับการแต่งตังอย่างถูกต้อง สิ่งที่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามครับ

Optical Drive อุปกรณ์เสริมที่มีประโยชน์

สำหรับออปติคอลไดร์ฟที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ถ้าหากแบ่งกันตามการใช้งานแล้วก็จะแบ่งได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ ไดร์ฟแบอ่านอย่างเดียว กับไดร์ฟไดร์ฟที่อ่านและเขียนได้ในตัวเดียวกัน ในส่วนของการพัฒนาของซีดีรอมไดร์ฟนั้นก็คงจะไม่มีการพัฒนาอีกต่อไปแล้ว เพราะการใช้งานค่อนข้างจะจำกัด หากแต่ไดร์ฟกำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าจะเข้ามาแทนไดร์ฟ CD-ROM และ DVD-ROM ก็คือไดร์ฟ DVD - Writer ซึ่งก็จะคงจะเหมือนกับตอนที่ไดร์ฟ CD - Writer เข้ามาแทนที่ไดร์ฟ CD-ROM ในที่สุด

สำหรับอนาคตของออปติคอลไดร์ฟในปีนี้ คงจะเป็นไดร์ฟประเภท DVD-Writer ที่น่าจะเข้ามาเป็นไดร์ฟมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ เพราะราคาได้ปรับตัวถูกลงกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก และความเร็วในการเขียนแผ่นก็สูงขึ้นจนน่าที่จะซื้อมาใช้ สำหรับคนที่ต้องเขียนแผ่นซีดีอยู่ตลอดเวลานั้น หากมองถึงความคุ้มค่าแล้ว การเขียนลงแผ่น DVD นั้นค่อนข้างจะคุ้มค่าและประหยัดกว่าการเขียนลงแผ่นซีดี ขณะที่แผ่น DVD 1 แผ่นนั้นมีความจุถึง 4.7 กิกะไบท์ ซึ่งราคาจะอยู่ประมาณแผ่นละ 30 บาท ในขณะที่แผ่นซีดี 1 แผ่นจะมีความจุอยู่ประมาณ 700 เมกะไบท์ ซึ่งราคาแผ่นแบบที่มีคุณภาพก็จะอยู่ประมาณ 7-8 บาท หากนำมาบันทึกข้อมูลขนาด 4.7 กิกะไบท์ แล้วจะต้องใช้ถึงประมาณ 7 แผ่นด้วยกัน โดยเมื่อรวมราคาแล้วแพงกว่าแผ่น DVD 1 แผ่นเสียอีก ซึ่งคงต้องยออมรับกันครับว่าไดร์ฟ DVD-Writer ถึงจะมีราคาที่ถูกลงแล้วแต่ก็ยังถือว่าสูงอยู่ แต่หากเป็นการซื้อมาใช้งานจริงก็นับว่าคุ้มค่ากว่าครับ

ความเร็วของไดร์ฟ DVD-Writer ในปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 16X ซึ่งความเร็วระดับนี้สามารถเขียนข้อมูลขนาด 4.5 กิกะไบท์ลงแผ่นได้ในเวลาไม่ถึง 5 นาที่ ซึ่งนับว่าเร็วมาก หากในปัจจุบันถึงแม้แผ่นความเร็ว 16 X จะยังหาซื้อค่อนข้างยาก แต่ในปีนี้ คงจะมีเข้ามาจำหน่ายกันมากขึ้นครับ หรือไม่ก็ใช้แผ่น DVD ความเร็ว 8 X นำมาเขียนที่ความเร็ว 8 X ก็ใช้เวลาจากการเขียนความเร็วระดับ 16 X อยู่เพียงนิดเดียวเท่านั้น และสำหรับการเขียนแผ่น

นอกจากความเร็วในการเขียนแผ่นระดับ 16 X แล้ว อีกเทคโนโลยีที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกซื้อไดร์ฟ DVD-Writer ก็คือเทคโนโลยี Dual Layer ซึ่งเทคโนโลยีนี้นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ของไดร์ฟ DVD-Writer เลยทีเดียว โดยพึ่งจะบรรจุอยู่ใยไดร์ฟ DVD-Writer ความเร็ว16 X เป็นรุ่นแรก เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถเขียนแผ่น DVD แบบ 2 หน้า ความจุขนาด 8.5 กิกะไบท์ หรือที่เรียกว่าแผ่น DVD9 ได้ซึ่งจะมีความเร็วสูงสุดในการเขียนอยู่ที่ 4X แล้ว

เรื่องของการความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลแผ่น CD-ROM นั้นก็ควรมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 40 X และ 16 สำหรับแผ่น DVD-ROM ครับ ในส่วนของการเขียนแผ่น CDROM ก็ควรจะมีความเร็วอยู่ 32 x และ 2 4X สำหรับแผ่น CD-RW เป็นมาตรฐานครับ

ส่วนของอินเทอร์เฟซของไดร์ฟ DVD - Writer นั้นก็จะมีอินเทอร์เฟซอยู่ 2 แบบด้วยกันคือแบบติดตั้งภายในซึ่งก็คือแบบ IDE โดยจะมีตั้งแต่ ATA 33 -ATA 100 กันเลยทีเดียว และอีกแบบก็คือแบบที่ติดตั้งภายนอกซึ่งจะใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ท USB ซึ่งในการเลือกซื้อๆไดร์ฟแบบติดตั้งภายนอกนั้นก็ควรจะเลือกที่เป็นพอร์ท USB เวอร์ชัน 2.0 เพื่ออัตราการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็ว แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่ความเร็วในการเขียนที่อาจจะมีความเร็วไม่เท่ากับแบบที่ติดตั้งภายในครับ ในส่วนของไดร์ฟที่มีอินเทอร์เฟซเป็นแบบ SATA นั้นในเวลานี้ยังไม่เห็นมีออกมาจำหน่ายมากนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะชิปเช็ตที่รองรับการทำงานยังคงมีไม่มากนัก.

สำหรับเรื่องของหน่วยความจำบัฟเฟอร์นั้นไดร์ฟ DVD-Writer ส่วนใหญ่จะมีขนาดบัฟเฟอร์มาให้เพียง 2 เมกะไบท์เท่านั้น ซึ่งบัฟเฟอร์ขนาดเพราะเท่านี้ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ

บทสรุปแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

      จากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมไว้ในบทความ ก็เพื่ออธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีตั้งแต่ปี 2005 ขึ้นไป                                           

 เทคโนโลยีที่พัฒนาออกมานั้นมั่นใจได้ในระดับหนึ่งครับว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมแน่นอน แต่ก็ต้องคิดให้หนักนะครับในเทคโนโลยีระดับเดียวกันที่มัวเลือกมากกว่าสองอย่างเช่น ซีพียู เพราะซีพียูเป็นส่วนที่กำหนดรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณเลยก็ว่าได้  

     หากท่านจะเลือกซื้อเครื่องคอมใหม่ๆ ซักเครื่อง แนะนำให้ซื้อ cpu แบบ 64 bit  แรมแบบ DDR2 และ DVD rw ไว้ก่อนครับ
     ที่ให้เลือกซื้อ
cpu แบบ 64 bit ก็เพราะแนวโน้ม การพัฒนาการเขียน โปรแกรมต่างๆในอนาคตน่าจะเป็น แบบ 64 dit ทั้งหมด
     ถึงแม้ตอนนี้ ไดรเวอร์ และโปรแกรมต่างๆยังเป็นแบบ 32 บิตซะส่วนใหญ่ แต่ผมว่าอีกไม่นานหลอกครับ

    
ผมเคยเดินไปดูตามร้าน  CPU รุ่นใหม่ๆที่ออกมาขายกันตามท้องตลาด ร้อยละ 98 มันยังเป็น CPU แบบ 64 บิต ลยครับ
     คุณก็ลองคิดดู ครับว่า ถ้าคุณซื้อ
cpu แบบ 32 bit ในอนาคตข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร หลายคน คงนึกไม่ออก แต่ปัญหา
     อย่างแรกเลย ที่คุณจะเจอก็คือ เครื่องของคุณไม่สามารถ ลงโปรแกรมที่เป็น 64
bit ได้

 เพนเทียม ดี ก็ 64 bit ครับแต่หยุดสายการผลิตไปแล้ว และ FSB ็แค่ 800 แต่ถ้าตัวใหม่ ( Core 2 Duo จะอยู่ที่ 1066 )
 ครับ
FSB และ L2 ตัวนี้ส่งผลกับความเร็วในการประมวลผลมาก เวลาซื้อให้ดูตรงนี้ด้วยครับ
                       ตอนนี้ก็อยู่ที่กระเป๋าเงินของท่านแล้วครับว่าจะเลือกแบบไหนดี.
.haha 

ขอขอบคุณ น้องบอย ที่ส่ง
mail ข้อมูลด้านฮาร์แวรมาให้ครับ