งานคำนวณระดับ
การระดับเป็นการหาความสัมพันธ์ของความสูงสุดของจุดต่างๆ
หรือวัตถุใดบนพื้นโลก ซึ่งการรหาค่าระดับนั้นอยู่ในแนว
Vertrial Plane
เพื่อเปรียบเทียบความต่างๆว่ามีมากน้อยเพียงใด
เช่นการหาค่าระดับความสูงของจุด 2 จุด บนภูมิประเทศ
ซึ่งจุดหนึ่งเราทราบค่าระดับ
ความสูงจากระดับมาตรฐานแล้ว เราก็สามารถหาค่าระดับความสูงอีกจุดหนึ่งได้
การอ่านค่าเมื่อ cross hair ทับอยู่บนไม้สตาฟ
การอ่านค่าที่ไม้สตาฟเราต้องใช้ความละเอียดมาก เพราะไม้สตาฟไม่ได้แบ่งรายละเอียดไว้ชัดเจน
โดยเฉพาะค่า
มิลลิเมตร
เราจึงต้องนับเองโดยประมาณ โดยแบ่งความยาวที่ไม้สตาฟในช่วง 1 ซ.ม. ออกเป็น
10 ช่อง แล้วอ่านค่าที่สายใยดิ่งทับกับสายใยราบเส้นกลาง
(Middle Hair Line )
ตัดกันจจะเป็นค่าลำดับที่ต้องการ เนื่องจากกล้องระดับมีทั้งชนิดหัวตรงและหัวกลับ
ดังนั้นจึงขอแนะนำการอ่านค่าที่ถูกต้อง คือ ให้อ่านจากค่าน้อยไปหาค่ามากเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นกล้องชนิดใดก็ตาม
ตัวอย่างการอ่านค่าไม้วัดระดับ
สายใยกลางเท่ากับ 1.188
เมตร
สายใยบนเท่ากับ
1.228 เมตร
สายใยล่างเท่ากับ 1.148 เมตร
สมมุติว่าเราไม่สามารถอ่านค่าสายใยบนได้
วิธีหาการหาค่าสายใยบนคือการนำค่าสายใยกลางลบสายใยล่างแล้วบวกด้วยตัวสายใยกลางจะได้ค่าเป็นสายใยบน
ตัวอย่าง
1.188-1.148=0.040+1.188=1.228
ok สายใยบนจะเท่ากับ
1.228
สมมุติว่าเราไม่สามารถอ่านค่าสายใยล่างได้
วิธีหาการหาค่าสายใยล่างคือการนำค่าสายใยบนลบสายใยกลางแล้วลบด้วยตัวสายใยกลางจะได้ค่าเป็นสายใยล่าง
ตัวอย่าง
1.228-1.188=0.040 นำ 1.188-0.040=1.148
ok สายใยล่างจะเท่ากับ 1.148
หมายเหตุ:ในงานปฏิบัติภาคสนามจริงอาจมีพวกต้นไม้ใบไม้
บังแนวกล้องทำให้ไม่สามารถอ่านค่าสายใยบนได้และในพื้นที่ที่มีหญ้ารกก็
ทำให้ไม่สามารถอ่านค่าสายใยล่างได้เช่นกันวิธีการคำนวณหาค่าสายใยที่ไม่สามารถอ่านได้จึงสำคัญเช่นกันในการปฏิบัติงานจริง
รูปภาพไม้ระดับที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และการอ่านค่าไม้ระดับ
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับงานระดับ
B.M.
หมาย ถึงหมุดหลักฐานถาวรที่มีค่าระดับคงที่
โดยนับเนื่องจากระดับน้ำทะเลปลานกลาง
TP.หมายถึงจุดตั้งไม้สตาป์เพื่อเปลี่ยนจุดตั้งกล้องสำหรับการถ่ายระดับต่อเนื่อง
B.S
หรือเรียกอีกอย่างว่าไม้หลัง
เป็นค่าที่อ่านได้ครั้งแรกหลังจากการตั้งกล้องไม่ร่วมกับค่าBM
F.S
หรือเรียกอีกอย่างว่าค่าไม้หน้า เป็นค่าที่อ่านได้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนย้ายกล้อง
IFS.
เป็นค่าระดับที่ได้จากการส่อง BSแล้ว หรือเรีอกอีกอย่างหนึ่งว่าไม้กลาง
HI
หมายถึง
ค่าระดับแนวแกนกล้องที่ได้ระดับแล้วซึ่งเป็นความสูงต่อเนื่องจากระดับน้ำทะเลปลานกลาง
Elev
หมายถึง ค่าความสูงต่ำต่อเนื่องที่มาจากค่าการคำนวณ
ตัวอย่าง
จากรูป
ถ้าเราต้องการทราบค่าระดับความต่างระหว่าง
A และ
B
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง M,S,L
เท่าหับ 10,000 M
เราอ่านค่าที่หมุด A
ได้เท่ากับ 2,500 อ่านค่าหมุด B
ได้เรียกว่า FS
เท่ากับ 1,200
ความสูงต่าง A and B = B S - FS
= 2.500-1.200
=+1.300
ถ้าต้องการทราบ MSL
HI = ค่าระดับที่ A+BS
= 10.000+2.500
= 12.500 m
ค่าระดับของหมุด B = HI-FS
= 12.500-1.200
= 11.300 m
การทำระดับต่อเนื่อง
การทำระดับต่อเนื่อง คือ การหาความสูงระหว่างหมุด 2 หมุด
บนพื้นดินอยู่ห่างไกลกัน หรือการค่ระดับของหมุดต่างๆต่อเนื่องกันเป็นระดับทางยาว
โดยปกติการกำหนดจุดตั้งกล้องและจุดตั้งไม้
สตาฟจะกะระยะให้มองเห็นได้ชัดเจน ทั้งไม้หน้าและไม้หลังนิยมใช้ประมาณ 20-50
เมตร ในการตั้งกล้องวัดระดับแต่ละครั้ง สิ่งที่ถือว่าเป็นข้อสำคัญที่สุด
สำหรับงานระดับ คือ
รักษาระยะทางของ BS กับ FS ให้เท่ากับหรือใกล้เคียงกัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของแนวเล็งไม่ได้ระดับกับความโค้งของโลก
รูปตัวอย่าง การทำระดับต่อเนื่องจากหมุด A ไปยังหมุด B สมมติให้หมุด A มีค่า 10,000m จากระดับ MSL
การคำนวณค่าระดับ คำนวณโดยอาศัยระดับแกนกล้อง HI เป็นหลักโดยการใช้สูตร คือ
1) H.I = Elev ณ.หมุด BM + ค่า BS
2) Elev ณ.หมุดที่ต้องการ = HI FS
การตรวจสอบการคำนวณ
ทุกครั้งทีทำระดับ เราต้องตรวจสอบค่าระดับในสมุดสนาม แต่ละ Party ว่าถูกต้องหรือไม่ ใช้สูตร
∑BS - ∑FS = Last Elev - First Elev
ผลรวมค่าไม้หลัง ผลรวมค่าไม้หน้า = ความสูงจริงหมุดสุดท้าย - ความสูงจริงของหมุดแรก
ตัวอย่างการบันทึกสมุดสนาม (การคำนวณค่า HI)
STA |
B.S |
HI |
FS |
Elev |
|
remark |
A |
1.500 |
101.500 |
|
100.000 |
|
A อยู่บนทางเท้า สะพาน ทางทิศใต้ B อยู่ทางสะพานทิศเหนือ คนกล้อง คนจด วัดระยะ |
TP1 |
2.000 |
102.400 |
1.100 |
100.400 |
40 m |
|
TP2 |
1.800 |
103.200 |
1.000 |
101.400 |
50 m |
|
B |
|
|
2.500 |
100.700 |
60 m |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
TOTAL |
∑5.300
|
|
∑4.600
|
|
|
Check ∑ BS - ∑ FS = 5.300 4.600 = +0.700
Lotst Elev - First Elev = 100.700 -100.000 = + 0.700 OK ถูกต้อง
นี้คือการตรวจสอบความถูกต้องของงาน
การคำนวณหาค่าระดับ
Elev + BS จะได้ HI
HI FS จะได้ Elev
ตัวอย่าง
100.000 + 1.500 = 101.500
101.500 1.100 = 100.400
100.400 + 2.000 = 102.400
102.400-1.100 = 101.400
101.400 +1.800 = 103.200
103.200 -2,500 = 100.700
ตัวอย่างคำนวณแบบ rise + Fall -
STA |
B.S |
FS |
(+) rise |
(-)Fall |
Elev |
Post |
|
A |
1.500 |
|
|
|
100.000 |
m |
|
TP1 |
2.000 |
1.100 |
+0.400 |
|
100.400 |
40 |
|
TP2 |
1.800 |
1.000 |
+1.000 |
|
101.400 |
50 |
|
B |
|
2.500 |
|
-0.700 |
100.700 |
60 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
TATAL |
∑5.300
|
∑4.600
|
|
|
|
|
|
Check ∑BS - ∑FS 5.300-4.600 = +0.700
∑ rise - ∑ Fall 1.400 0.700 = +0.700 OK ถูกต้อง
การคำนวณหาค่าระดับ
BS - FS = ค่า + ใส่ในช่อง rise ถ้าค่าลบ ใส่ในช่อง fall
แล้วนำค่ามา ถ้า rise เป็น + ค่า fall เป็น -นำ2ค่านี้ มาบวกกับลบ ค่า Elev
ตัวอย่าง
1.500-1.100 = +0.400
2.000 1.000 = +1,000
1.800 2.500 = -0.700
100.000 + 0.400 = 100.400
100.400 + 1.000 = 101.400
101.400 - 0.700 = 100.700
ติดต่อโฆษณากับทางเว็บ หรือ ซื้อขาย จัดทำโปรแกรมต่างๆสามารถ
โอนเงินผ่าน เลขบัญชี 269-222944-4 ธนาคารไทยพาณิชย์
ติดต่อผู้จัดทำ
twitter
PHANXV@phankawee006
กลับไปหน้าสำรวจ
อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้