เมื่อคุณคิดที่จะเลือกเรียนเกี่ยวกับช่างสำรวจ
ช่างสำรวจ Surveyor
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้ควบคุมและทำการสำรวจพื้นดินและท้องน้ำ เพื่องานทำแผนที่หรือแผนภูมิงานก่อสร้าง งานเหมืองแร่ หรือเพื่องานอื่นๆ โดยการกำหนดสถานที่ตั้ง และวาดภาพแสดงลักษณะภูมิประเทศรวมถึงการสำรวจบริเวณพื้นดินและท้องน้ำ การสำรวจบริเวณทะเล และเหมืองแร่ และการสำรวจประเภทอื่นๆ เป็นผู้ช่วยนักสำรวจเกี่ยวกับการใช้ และดูแลรักษาเครื่องมือต่างๆ ในขณะปฏิบัติงาน ช่วยแปลข้อมูลที่ได้จากงานสนาม และทำงานอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
ลักษณะของงานที่ทำ
1. ควบคุม และทำการสำรวจพื้นดิน และท้องน้ำ เพื่อการทำแผนที่หรือแผนภูมิ งานก่อสร้าง งานเหมืองแร่ หรืองานอื่นๆ โดยกำหนดสถานที่ตั้ง |
2. วาดภาพแสดงลักษณะภูมิประเทศ ตรวจสอบบันทึก แผนที่ แผนผัง โฉนด และเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนทำการคำนวณเบื้องต้น ซึ่งจำเป็นสำหรับงานสำรวจ |
3. ตรวจสอบ และปรับกล้องรังวัด หรือกล้องทำแผนที่เข็มทิศ โต๊ะสำรวจ และเครื่องมือสำรวจอื่นๆ |
4. สำรวจ และสั่งงานผู้ช่วย เพื่อให้การปฏิบัติงานตรงตามสถานที่ที่กำหนด และเพื่อความแน่นอนเกี่ยวกับการวัดระหว่างจุดต่างๆ ความสูงชัน เส้นและมุม ความสูงต่ำของพื้นดิน และข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นผิวดิน พื้นที่ใต้ดิน และพื้นที่ใต้ท้องน้ำ |
5. ทำการคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสิ่งที่วัดได้ |
6. บันทึกการใช้มาตรการต่างๆ และการคำนวณ รวมทั้งการเขียนแบบร่างพื้นที่บริเวณที่ทำการสำรวจ |
7. จัดทำแบบวาดโดยละเอียด และทำรายงาน |
สภาพการจ้างงาน
ช่างสำรวจที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ไม่มีประสบการณ์จะได้รับเงินเดือนโดยประมาณดังนี้ | ||||||||||||
|
||||||||||||
สำหรับงานเอกชนนั้น อัตราเงินเดือนขึ้นอยู่กับความสามารถ ความชำนาญงาน และวุฒิการศึกษาของแต่ละบุคคล นอกเหนือจากเงินเดือน และค่าจ้างประจำแล้ว อาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่นในรูปของสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร โบนัส บำเหน็จ บำนาญ | ||||||||||||
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด หรือต้องทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานติดตั้งหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรให้ทันการใช้งาน . |
สภาพการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ทำงานทั้งใน และนอกสถานที่ทำงานในการสำรวจสภาพสถานที่ที่ ได้รับมอบหมายให้ทำการสำรวจ อาจต้องปีนป่ายในที่สูงหรือบุกป่าฝ่าดง ทำงานตากแดดหรือฝน ต้องแบกอุปกรณ์ในการสำรวจ เช่น กล้องรังวัด เข็มทิศ ต้องคิดคำนวณ สภาพการทำงานหนักปานกลาง ต้องใช้ ความอดทนต่อสภาพความร้อน และบางโอกาสทำงานตามลำพัง ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบสูงพอสมควร เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และบางครั้งต้องทำงานเกินเวลาต้องปฏิบัติงานทั้งในสำนักงาน และกลางแจ้ง รวมทั้งอาจจะต้องประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่องานการสำรวจ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ มีดังนี้ |
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง |
2. มีร่างกายแข็งแรง สามารถทำงานหนักได้ |
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ และงานทดลอง |
4. มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ดี |
5. มีความเชื่อมั่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี |
6. มีความละเอียดรอบคอบ ชอบการบันทึก |
7. สามารถวิเคราะห์
และตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานได้ |
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้
ควรเตรียมความพร้อมดังนี้คือ:
ผู้สนใจประกอบอาชีพนี้ในระดับช่างฝีมือต้องสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)
สาขาวิชาช่างสำรวจจากสถานศึกษาสังกัดกรม อาชีวศึกษา หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
หรือ |
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างสำรวจจากสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา หรือสาขาวิชาช่างกลโรงงานจากสถานศึกษาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสำหรับผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และเข้ารับการฝึกในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเป็นเวลา 10 เดือน และส่งไปฝึกงานในสถานประกอบการ 4 เดือน รวมระยะเวลาฝึกทั้งหมด 14 เดือน จึงจะได้รับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) แนวการฝึกเน้นภาคปฏิบัติ 70% ความรู้ความสามารถที่ จำเป็น ได้แก่ อ่านแบบ เขียนแบบก่อสร้าง เทคนิคการก่อสร้าง อาคารขนาดเล็ก การสำรวจรังวัด หลักการบริหารงานก่อสร้าง การประมาณราคาและการปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างทั้งในห้องเรียน โรงฝึกงานและออกฝึกในสถานการณ์จริงบริเวณสถานที่ก่อสร้าง |
โอกาสในการมีงานทำ
สำหรับแหล่งจ้างงานช่างสำรวจโดยทั่วไป ได้แก่
สถานประกอบกิจการอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
ถึงแม้ว่าภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังประสบปัญหาอยู่ทำให้การลงทุนเพื่อขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมชะงักไป
แต่ความต้องการแรงงานทางด้านช่างสำรวจยังคงมีอยู่และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากยังมีงานที่ต้องการช่างสำรวจอีกมาก เช่น โครงการสร้างถนน
หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ รวมทั้งงานการก่อสร้างอาคารต่างๆ
ที่ต่อเนื่องมาจากการชะงักในช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ |
เมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นกว่านี้ ภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาจะกลับฟื้นตัว และขยายการลงทุนขึ้นอีก ฉะนั้น งานช่างสำรวจก็ยิ่งกลับมาเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอีกมากขึ้นตามอัตราการขยายตัวของสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรม |
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพช่างสำรวจที่มีประสบการณ์และความชำนาญ
จะได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปจนถึงระดับหัวหน้างาน
และสำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต่อเพื่อปรับ วิทยฐานะให้สูงขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไป มีแนวทางในการศึกษาต่อ ดังนี้ |
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)
ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา
หรือสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือหรือ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น |
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง 3-4 ปีครึ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือสถานศึกษาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2-3 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสถานศึกษาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ดูภาพตัวอย่าง VDO ขณะปฏิบัติงานสำรวจ...คลิกที่นี้ครับ |
การคำนวณหาค่าระดับ และ ระยะด้วยวิธี
STADIA METHOD
พร้อมโปรแกรมคำนวณ
โปรแกรม map p7...อ่านต่อ
โปรแกรมงานสารบัญ..อ่านต่อ
ติดต่อโฆษณากับทางเว็บ หรือ ซื้อขาย จัดทำโปรแกรมต่างๆสามารถ
โอนเงินผ่าน เลขบัญชี 269-222944-4 ธนาคารไทยพาณิชย์
ติดต่อผู้จัดทำ
twitter
PHANXV@phankawee006
กลับไปหน้าหลักของเว็บ